ข้อดีข้อเสีย ระบบโซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์

inverter-comparison

ระบบโซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือหนึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์จากรูปแบบกระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) ก่อนเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของตัวบ้านเพื่อนำไปใช้งานตามมาตรฐานของเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ระบบ คือ

1. ระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter)

solar-string-inverter
solar-micro-inverter

จะเห็นได้ว่ารูปแบบการติดตั้งหลักๆที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ ระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) จะติดตั้งในส่วนของอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ในส่วนด้านล่างของตัวบ้าน และส่วนมากใช้เพียงแค่ตัวเดียว แต่ในส่วนของระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) จะติดตั้งในส่วนของอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ข้างใต้แผงโซล่าเซลล์บนหลังคาไว้ด้วยกันเลย และมีจำนวนตัวอินเวอร์เตอร์แปรผันตามจำนวนแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาในรูปแบบ 1:1 หรือ 1:4 (จำนวนไมโครอินเวอร์เตอร์ ต่อ จำนวนแผงโซล่าเซลล์)

inverter-string-micro

ข้อดีและข้อเสีย ของระบบโซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์แต่ละเรื่อง

1. ประสิทธิภาพ การผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยรวมต้องยกให้ระบบโซล่าเซลล์ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) มีประสิทธิภาพการผลิตในเชิงทฤษฎี ที่สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะข้อดีของการที่สามารถควบคุมการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ได้รายแผงแยกจากกัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพของบางแผงโซล่าเซลล์ที่อาจจะตกลงจากเงาที่บัง ไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์แผ่นอื่นๆที่อยู่ในระบบ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เต็มทีให้กับระบบ ต่างกับระบบโซล่าเซลล์สตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ทีมีการต่อสายไฟฟ้าของทุกแผงโซล่าเซลล์เข้าด้วยกันในรูปแบบอนุกรมกัน ก่อนเชื่อมต่อเข้าสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ซึ่งระบบจำเป็นต้องปรับแรงดันไฟฟ้าของทุกแผงให้เท่ากันตลอดเวลา เมื่อมีแผงโซล่าเซลล์แผงใดแผงนึงผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ต่ำลง ทุกแผงจะต้องปรับแรงดันและลดพลังการผลิตให้ต่ำลงเท่ากันทั้งหมด


2. การบำรุงรักษา อุปกรณ์อินเวอร์เตอร์เป็นหัวใจหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของตัวบ้าน ซึ่งส่วนมากถูกออกแบบให้มีระยะเวลาในการใช้งาน หรือรับประกันมากกว่า 10 ปี เพื่อให้มีระยะเวลามากพอที่จะทดแทนของค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้า ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ในความทนทานของอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) แต่ก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ไม่เหมาะสมเช่น การติดตั้ง สภาพแวดล้อม หรือ การใช้งานที่ไม่อยู่ในมาตรฐานของผู้ผลิต เพราะฉะนั้นการตรวจสอบตัวอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์จึงจำเป็นที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ โดยส่วนนี้ข้อดีของระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) สามารถตรวจสอบได้ง่ายเพราะติดตั้งอยู่ในส่วนของระบบตู้ไฟฟ้าของตัวบ้าน ในขณะที่ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) มีการติดตั้งอยู่บนหลังคา ที่ทำให้ลูกค้ายากต่อการตรวจสอบตัวอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์


3. ความปลอดภัย เนื่องด้วยระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) มีความเกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันที่สูง จึงมีความอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินรอบข้าง ทางผู้ผลิตก็มีการออกแบบระบบที่ต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยและการรับรองจากองค์กรที่กำหนดแต่ละประเทศ แต่ด้วยรูปแบบการติดตั้งที่แตกต่างของระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) และ ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) ทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบได้ง่ายในเรื่องขนาดแรงดันไฟฟ้าของระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ที่มีการต่อแบบอนุกรมรวมกันทำให้แรงดันไฟฟ้าสูงเกินกว่า 220V บนหลังคา ในขณะที่ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) มีการต่อแผงโซล่าเซลล์แยกรายแผง และแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) ได้ในทันที ทำให้สามารถตัดระบบไฟฟ้าและหยุดผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทันทีกรณีที่พบปัญหาหรือมีความผิดปกติในระบบ เราเรียกคุณสมบัตินี้ว่า Rapid Shutdown ซึ่งระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) จำเป็นต้องต่ออุปกรณ์ที่มีคุณสมบัตินี้เพิ่มเติม


4. แอปพลิเคชั่น การติดตามข้อมูลการผลิตไฟฟ้าก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับลูกค้า เพื่อที่จะรับทราบถึงอัตราการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 ระบบต่างมี แอปพลิเคชั่นจากทางผู้ผลิตสินค้าให้ลูกค้าสามารถใช้งานติดตามข้อมูลได้แบบออนไลน์ แต่ด้วยรูปแบบการติดตั้งของระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ที่สามาถติดตั้งได้ในส่วนของตัวบ้าน และเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านระบบสายแลน (Lan Cable) ความเสถียรของการใช้งานและส่งข้อมูลจึงสูงกว่าระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) ที่ตัวอุปรกณ์ที่ติดตั้งบนหลังคาต้องเชื่อมต่ออินเทอร์ผ่านระบบไร้สาย หรือ WiFi ผ่านอุปกรณ์ DTU (Data Transfer Unit) ทำให้ความเสถียรเรื่องการรับส่งข้อมูลอาจจะต่ำลง


สรุปจุดเด่นที่แตกต่างกันได้ชัดเจน คือ รูปแบบของระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ สามารถต่อเพิ่มของระบบสำรองไฟฟ้า หรือ Battery Stroage ในภายหลังได้เนื่องจากรูปแบบกระแสไฟฟ้าที่ลงมาจากหลังคาเป็นแบบกระแสตรง (DC) ซึ่งสามารถนำไปชาร์จไฟฟ้าให้กับ Lithium ion battery ผ่านการควบคุมโดยอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ที่ใช้ร่วมกัน ในขณะที่ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) มีการแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นกระแสสลับ (AC) เรียบร้อยแล้ว การจะนำไฟฟ้าไปชาร์จจำเป็นต้องเพิ่มหรือติดตั้งอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์เพิ่มอีก แต่เนื่องจากการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) สามารถออกแบบเพิ่มและลดได้ตามจำนวนแผงโซล่าเซลล์ในภายกหลังได้ โดยมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ทำให้เหมาะกับการติดตั้งในสถานที่ขนาดเล็กเช่น บ้านพักอาศัย


ความรู้เรื่องโซล่าเซลล์

Scroll to Top