การขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
แบ่งออกเป็น 2 แบบกล่าวคือ
1. การขออนุญาตเพื่อขอขายไฟคืน ตามโครงการไฟฟ้าภาคประชาชน (ต้องติดตั้งขนาดที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน10 กิโลวัตต์)และต้องเป็นบ้านพักอาศัยเท่านั้น (ประเภท1)
2. การขอขนานไฟเพื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยติดตั้งที่มีกำลังการผลิตเพื่อใช้งาน โดยไม่ได้ขายไฟคืน
โดยมี 3 หน่วยงานหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาติติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
เพื่อแจ้งแสดงความจำนงขอเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นฯ การผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ และหรือ ขอรับใบอนุญาตทำการผลิตพลังงานควบคุมผ่านช่องทางออนไลน์
2. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือ สำนักงานเขต
- ในกรณีที่เมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ บนหลังคาขนาดพื้นที่มากกว่า 160 ม.2 และมีน้ำหนักมากกว่า 20 ก.ก./ม.2 อาคารที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อขอรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1)
- ในกรณีติดโซล่าเซลล์บนหลังคาโดยใช้พื้นที่ไม่เกิน 160 ม.2 ซึ่งมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 ก.ก./ม.2 จะถือว่าไม่เป็นการดัดแปลงอาคาร จึงถือว่าไม่ต้องขอรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1)
แต่อย่างไรก็ตามต้องมีแบบคำนวณโครงสร้างเพื่อประเมินความแข็งแรงของหลังคาที่เซ็นโดยวิศวกรโยธาในทุกกรณี
3. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ในเขตพื้นที่เพื่อให้ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งและเปลี่ยนระบบมิเตอร์ใหม่ โดยต้องมีแบบ Single Line Diagram โดยมีวิศวกรไฟฟ้าที่ รวมถึงเอกสารยกเว้นฯจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และ แบบคำนวณโครงสร้าง และหรือ อ.1 เพื่อนำมาสู่ขั้นตอนสุดท้าย นำเอกสารทั้ง มายื่นต่อ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าฯส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งการไฟฟ้าจำนำมิเตอร์แต่ละประเภทมาติดให้โดย หากเป็นกรณีที่ขายไฟคืนก็จะเป็นมิเตอร์ประเภทที่สามารถปล่อยไฟฟ้ากลับคืนให้กับทางภาครัฐ และหรือถ้าหากเป็นการขอขนานไฟจะได้มิเตอร์ประเภทกันย้อน เพื่อป้องกันไฟฟ้าไหลย้อนกลับ