saixiii

Solar-permission

การขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

การขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 แบบกล่าวคือ 1. การขออนุญาตเพื่อขอขายไฟคืน ตามโครงการไฟฟ้าภาคประชาชน (ต้องติดตั้งขนาดที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน10 กิโลวัตต์)และต้องเป็นบ้านพักอาศัยเท่านั้น (ประเภท1) 2. การขอขนานไฟเพื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยติดตั้งที่มีกำลังการผลิตเพื่อใช้งาน โดยไม่ได้ขายไฟคืน โดยมี 3 หน่วยงานหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาติติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ 1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อแจ้งแสดงความจำนงขอเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นฯ การผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ และหรือ ขอรับใบอนุญาตทำการผลิตพลังงานควบคุมผ่านช่องทางออนไลน์ 2. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือ สำนักงานเขต ในกรณีที่เมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ บนหลังคาขนาดพื้นที่มากกว่า 160 ม.2 และมีน้ำหนักมากกว่า 20 ก.ก./ม.2 อาคารที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อขอรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1) ในกรณีติดโซล่าเซลล์บนหลังคาโดยใช้พื้นที่ไม่เกิน 160 ม.2 ซึ่งมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 ก.ก./ม.2 จะถือว่าไม่เป็นการดัดแปลงอาคาร จึงถือว่าไม่ต้องขอรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1) แต่อย่างไรก็ตามต้องมีแบบคำนวณโครงสร้างเพื่อประเมินความแข็งแรงของหลังคาที่เซ็นโดยวิศวกรโยธาในทุกกรณี 3. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในเขตพื้นที่เพื่อให้ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งและเปลี่ยนระบบมิเตอร์ใหม่ โดยต้องมีแบบ …

การขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ Read More »

ติดตั้งโซล่าเซลล์ Werwind

ทำไมต้องติดตั้งโซล่าเซลล์

ทำไมต้อง ติดตั้งโซล่าเซลล์ ติดตั้งโซล่าเซลล์ ให้แสงแดดจ่ายค่าไฟ คุณกำลังลังเลเรื่องการทนจ่ายค่าไฟแพงหรือจะติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าไฟอยู่ใช่ไหมวันนี้ Werwind Energy Solar พันธมิตรด้านพลังงานสะอาดจะมาช่วยคุณในการตอบคำถามที่ยังค้างคาใจของคุณ ในปัจจุบันค่าไฟของบ้านที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน อยู่ในอัตราราคา 4.4 บาท และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในบ้านที่เป็น สถานที่ทำงาน (Office Home) ที่เป็นสถานที่ทำงานของคนยุคใหม่ หลังจาก Covid-19 ยังต้องWork from home หรือบ้านที่มีคนสูงอายุอาศัยอยู่ในช่วงเวลากลางวันนั้น หรือช่วงปิดเทอมที่คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกๆอยู่บ้านเพื่อพักผ่อน มีการเปิดแอร์ เปิดทีวี รวมไปถึงสำนักงาน ร้านอาหาร สถานประกอบการทั่วไป และมีค่าใช้จ่ายไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก การติดตั้งโซล่าเซลล์จะให้ผลลัพธ์ที่คุณคาดไม่ถึง ซึ่งวันนี้ Werwind Energy Solar จะตอบคำถามที่คุณค้างคาใจว่าคุณควรจะติดตั้งโซล่าเซลล์แล้วหรือยัง 1. พลังงานแสงอาทิตย์นั้นฟรีไม่มีค่าเช่าหรือค่าใช้จ่าย การติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ช่วยประหยัดเงินจากค่าติดตั้งเริ่มแรกอยู่ที่ 129,000 บาท  ซึ่งเป็นราคาที่เริ่มถูกลงแล้วจากราคาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อีกทั้งอุณหภูมิของประเทศไทยนั้นร้อนแรงมากขึ้นทุกๆปี โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนเดือนเมษายนนั้นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศแทบทั้งวัน เพียงแค่คุณลงทุนในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เข้าไปในบ้านของคุณ เท่ากับว่าคุณจับจองเป็นเจ้าของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่มีวันหมด เพื่อใช้ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าบ้านคุณอย่างน้อยขั้นต่ำ 40-50% ต่อเดือนยาวไปถึง …

ทำไมต้องติดตั้งโซล่าเซลล์ Read More »

inverter-comparison

ข้อดีข้อเสีย ระบบโซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์

ข้อดีข้อเสีย ระบบโซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์ ระบบโซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือหนึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์จากรูปแบบกระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) ก่อนเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของตัวบ้านเพื่อนำไปใช้งานตามมาตรฐานของเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีด้วยกัน 2 ระบบ คือ 1. ระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) 2. ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) จะเห็นได้ว่ารูปแบบการติดตั้งหลักๆที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ ระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) จะติดตั้งในส่วนของอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ในส่วนด้านล่างของตัวบ้าน และส่วนมากใช้เพียงแค่ตัวเดียว แต่ในส่วนของระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) จะติดตั้งในส่วนของอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ข้างใต้แผงโซล่าเซลล์บนหลังคาไว้ด้วยกันเลย และมีจำนวนตัวอินเวอร์เตอร์แปรผันตามจำนวนแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาในรูปแบบ 1:1 หรือ 1:4 (จำนวนไมโครอินเวอร์เตอร์ ต่อ จำนวนแผงโซล่าเซลล์) ข้อดีและข้อเสีย ของระบบโซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์แต่ละเรื่อง 1. ประสิทธิภาพ การผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยรวมต้องยกให้ระบบโซล่าเซลล์ไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) มีประสิทธิภาพการผลิตในเชิงทฤษฎี ที่สูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะข้อดีของการที่สามารถควบคุมการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ได้รายแผงแยกจากกัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพของบางแผงโซล่าเซลล์ที่อาจจะตกลงจากเงาที่บัง ไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์แผ่นอื่นๆที่อยู่ในระบบ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เต็มทีให้กับระบบ ต่างกับระบบโซล่าเซลล์สตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ทีมีการต่อสายไฟฟ้าของทุกแผงโซล่าเซลล์เข้าด้วยกันในรูปแบบอนุกรมกัน …

ข้อดีข้อเสีย ระบบโซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์ Read More »

solar-micro-inverter

ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter)

ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) คือหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) เหมาะสำหรับการติดตั้งตั้งในสถานที่แบบเป็นบ้านที่พักอาศัย หรือ ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าโดยรวมไม่เกิน 10 kWp เพราะไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel / Photovoltaic) จากกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) โดยรูปแบบของการเชื่อมต่อของระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) จะทำการติดตั้งอยู่ข้างใต้แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel / Photovoltaic) ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาบ้าน โดยลักษณะเป็นการควบคุมแยกแต่ละแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel / Photovoltaic) ได้โดยตรงดังรูป จะเห็นได้ว่ารูปแบบการทำงานของระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) จะสามารถบริหารและควบคุมการทำงานของแผงโซล่าเซลล์บนหลังได้โดยตรง และแยกแต่ละแผงได้ ต่างกับระบบของสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ที่ควบคุมแยกได้แค่ 2 สตริง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงาน และการควบคุมระบบตัดไฟฟ้า สามารถบริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น และปลอดภัยได้มากขึ้น เพราะรูปแบบการทำงานของไมโครอินเวอร์เตอร์ …

ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter) Read More »

solar-string-inverter

ระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter)

ระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) คือหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell) สำหรับบ้าน และ อาคาร เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel / Photovoltaic) จากกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) โดยรูปแบบของการเชื่อมต่อของระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) จะทำการรวมกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel / Photovoltaic) ในรูปแบบการต่อแบบอนุกรมก่อน โดยสามารถต่อแยกได้สูงสุดที่ 2 สตริง หรือ 2 ชุดของกลุ่มแผงโซล่าเซลล์ดังรูป ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถแบ่งการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ออกเป็น 2 ฝั่งของหลังคาบ้านได้ รองรับในกรณีพื้นที่ติดตั้งบนหลังคาไม่เพียงพอ โดยสายไฟจะถูกเดินสายมาเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์สตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ที่ส่วนมากจะติดตั้งในส่วนด้านล่างของตัวบ้าน ใกล้กับชุดระบบไฟฟ้าของบ้านลูกค้า เพื่อให้ง่ายต่อการเชื่อมต่อและบำรุงรักษาระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) ได้สะดวก นอกจากนี้ระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) จะสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อรับส่งข้อมูลการทำงาน ได้ผ่านสายแลน (Lan …

ระบบสตริงอินเวอร์เตอร์ (String Inverter) Read More »

Scroll to Top